รักษาโรคเบาหวานให้ถึงเป้าหมาย

 

ภาครัฐและภาคเอกชนประสานความร่วมมือในการพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ย้ำให้ตระหนักถึงอันตรายจากโรคเบาหวาน

              โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกินไป ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน ได้แก่ ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ การไม่ออกกำลังกาย หรือ น้ำหนักตัวที่มากเกินไป เป้าหมายหลักของการรักษาโรคเบาหวาน คือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติหรือใกล้เคียงปกติโดยไม่มีน้ำตาลต่ำ เพื่อชะลอและป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนในอนาคต  ตัวชี้วัดหนึ่งที่สำคัญคือ ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมหรือระดับฮีโมโกลบินเอวันซี(HbA1C) หรือเรียกสั้นๆว่า เอ วัน ซี (A1C) ซึ่งตัวเลขเป้าหมายที่บอกว่าการควบคุมเบาหวานอยู่ในเกณฑ์ที่ดีนั้นคือ ต้องมี เอ วัน ซี น้อยกว่า 7%

 


 

               ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิง วรรณี  นิธิยานันท์ นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ให้ข้อมูลว่า สถานการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง    สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ รายงานว่าในปี พ.ศ. 2558 ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกมีจำนวน 415 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 642 ล้านคนในปี พ.ศ. 2583 จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานจำนวน 5 ล้านคน ในปัจจุบันประชากรวัยผู้ใหญ่ 1 ใน 11 คน ป่วยเป็นโรคเบาหวาน สำหรับในประเทศไทยมีรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่าอัตราตายด้วยโรคเบาหวานของประเทศในปี 2556-2558 เท่ากับ 14.93, 17.53 และ 17.83 คนต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นทุกปี การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 เมื่อปี 2557 พบว่าความชุกของโรคเบาหวานเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 8.9 คิดเป็นผู้ป่วยเบาหวานจำนวนมากถึง 4.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ซึ่งพบเพียงร้อยละ 6.9 หรือมีคนเป็นโรคเบาหวาน 3.2ล้านคน 

                โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมและวิถีการดำเนินชีวิตซึ่งสามารถป้องกันได้ การบริหารจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง  ด้วยการจัดให้มีบริการดูแลรักษาภายหลังการเกิดโรคแต่เพียงอย่างเดียว ไม่อาจลดภาระผู้ป่วย/ครอบครัวและสังคมในระยะยาวได้ดังนั้น การป้องกันก่อนการเกิดโรคเป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้องทำควบคู่กันไป โดยมีกรอบแนวคิดการบริหารจัดการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน  ทั้งนี้ผู้ป่วยเบาหวานควรต้องมีการจัดการดูแลตัวเองที่ดี (Self-Management) เพราะการจัดการตนเองทำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ดีขึ้น และสามารถควบคุมอาการของโรคได้ นอกจากนี้ยังเข้าใจอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และสามารถจัดการอารมณ์ของตนเองได้ ผู้ป่วยเบาหวานจะสามารถดูแลตัวเองได้ดีได้จะต้องได้รับความรู้ที่ถูกต้องจากบุคลากรทางการแพทย์ จะเห็นว่า โรคเบาหวาน หากควบคุมไม่ได้ตามเป้าหมายเมื่อเกิดโรคแทรกซ้อนจะเป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูงมากและจะเห็นว่ามีค่าใช้จ่ายเพื่อใช้ในการรักษาโรคเรื้อรังต่างๆเพิ่มมากขึ้นทุกปี ดังนั้นหากผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูแลตัวเอง ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีแล้ว จะสามารถป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนที่จะตามมาได้ ซึ่งจะส่งผลให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยทั้งของผู้ป่วยเองและในภาพรวมระดับประเทศได้

               ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิง วรรณี กล่าวว่า สมาคมโรคเบาหวานฯ ในฐานะของหน่วยงานที่มีพันธกิจที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ได้มีโครงการเพื่อเพิ่มศักยภาพและความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆเพื่อที่จะทำให้การดูแลผู้ป่วยเบาหวานมีศักยภาพที่ดีมากขึ้น ในส่วนของการพัฒนาให้ความรู้กับบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากการจัดให้มีการประชุมประจำปีแล้ว ยังมีการประชุมวิชาการอื่นๆเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และผู้ดูแลชมรมเบาหวาน การประชุมวิชาการสัญจร การสัมมนาพัฒนาเครือข่ายชมรมเบาหวาน สำหรับการเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานให้ตระหนักถึงความสำคัญและการป้องกันโรคเบาหวานให้กับประชาชนทั่วไป สมาคมโรคเบาหวานฯ มีการจัดงานสัปดาห์วันเบาหวานโลก ซึ่งมีกิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับโรคเบาหวานทุกปีอีกด้วย มีเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน  นอกจากนี้ยังการร่วมมือกับองค์กรต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น เครือข่ายคนไทยไร้พุง  ของสสส.  เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน  มีการร่วมมือกับ สปสช.ในโครงการพัฒนาระบบและเครือข่ายบริบาลรักษาเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น การจัดทำแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวานเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้แก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เป็นต้น ซึ่งสมาคมโรคเบาหวานฯ เชื่อว่าการร่วมมือกันเป็นสหสาขาวิชาชีพ และการร่วมมือกันระหว่างองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จะสามารถพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นต่อไปได้อย่างแน่นอน

                  ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1C) ได้ตามเป้าหมายประมาณ  35.6% หรือเพียง 1 ใน 3 ซึ่งหากเราสามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมได้ตามเป้าหมาย จะลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของการบริหารการดูแลโรคเบาหวาน  เป้าหมายหลักนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากการร่วมมือกันของบุคลากรทางแพทย์เป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ รวมทั้งผู้ป่วยเบาหวานและครอบครัว ปัจจัยที่ส่งผลต่อการควบคุมระดับ เอวันซี เช่น อาหาร การดำเนินชีวิต ยาที่ใช้ และ การมีวินัยในการบริหารยาของผู้ป่วย อุปสรรคสำคัญในการควบคุมน้ำตาลตามเป้าหมาย คือ ภาวะน้ำตาลต่ำ และ การกลัวภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด หรือ ไฮโปไกลซีเมีย (Hypoglycaemia)ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับแพทย์และตัวผู้ป่วยเอง เนื่องจากอาจมีความกังวลถึงอันตรายจากภาวะน้ำตาลต่ำอย่างรุนแรง ส่งผลให้ไม่กล้าปรับขนาดยา จึงทำให้คุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ดังนั้นหากเราต้องการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมเอวันซีได้ตามเป้าหมายมากขึ้น จะต้องได้รับความร่วมมือและความใส่ใจของทั้งผู้ป่วยและแพทย์ด้วย

 


 

                    พันเอก (พิเศษ) รองศาสตราจารย์แพทย์หญิง อภัสนี บุญญาวรกุล ผู้อำนวยการกองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า  กล่าวว่าการรักษาและดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานเพื่อให้สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย คือ ระดับฮีโมโกลบิล เอ วัน ซี (HbA1C)หรือ เอ วัน ซี (A1C)ที่น้อยกว่า 7% มีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ตามที่อาจารย์วรรณีได้กล่าวไว้ข้างต้นไม่ว่าจะเป็นอาหาร การดำเนินชีวิต(Life style)  และยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งมีทั้งยาลดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทานและยาฉีดอินซูลิน อีกทั้งความสามารถในการบริหารยาของผู้ป่วย ก็เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่จะช่วยให้มีการควบคุมน้ำตาลได้ตามเป้าหมาย ซึ่งมีหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการระบุว่ายาอินซูลินเป็นยาที่ช่วยควบคุมระดับเอ วัน ซี(A1C)ได้มากที่สุด  ซึ่งยาอินซูลินในปัจจุบันก็มีการพัฒนาออกมาหลายแบบ แพทย์สามารถเลือกใช้ยาอินซูลินในแบบที่มีความเหมาะสมกับผู้ป่วยทั้งการใช้ชีวิตประจำวัน(การรับประทานอาหารและการทำงาน) ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยมีระดับเอ วัน ซี (A1C)ได้ตามเป้าหมาย

                     ข้อจำกัดในการใช้ยารักษาผู้ป่วยเบาหวานให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามเป้าหมาย โดยสามารถชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนในอนาคต คือ ภาวะน้ำตาลต่ำ และการกลัวการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดจากการใช้ยา ยาอินซูลินที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถเลียนแบบการหลั่งอินซูลินเหมือนคนปกติ จึงยังมีข้อจำกัดเรื่องเวลาในการบริหารยาให้ตรงตามความต้องการของร่างกาย ยาที่ออกฤทธิ์สั้นเกินไป ทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตลอดทั้งวัน ทั้งยังเกิดความแปรปรวนในการออกฤทธิ์ของยาซึ่งอาจทำให้ค่าน้ำตาลในกระแสเลือดสูงหรือต่ำเกินไปได้ ดังนั้นยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นยาในอุดมคติควรจะต้องมีคุณสมบัติในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตลอดทั้งวันเหมือนกับคนปกติ ไม่เกิดภาวะน้ำตาลต่ำหรือมีโอกาสเกิดน้อยที่สุด  ผู้ป่วยสามารถบริหารยาได้เอง มีความยืดหยุ่นในการบริหารยา คือ สามารถฉีดยาเวลาไหนก็ได้

                   ปัจจุบันมีการพัฒนายาอินซูลินรุ่นใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ และลักษณะการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย กล่าวคือ มีระยะออกฤทธิ์ยาวมากกว่า 24 ชั่วโมง โดยระดับยาในกระแสเลือดที่คงที่ ทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ยาวนานคงที่  ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำน้อยมาก อีกทั้งมีความยืดหยุ่นในการบริหารยา คือสามารถฉีดยาเวลาไหนก็ได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการฉีดยาว่าต้องฉีดเวลาเดิมๆทุกวัน  ผู้ป่วยจึงยอมรับการฉีดยาได้ง่ายขึ้น และทำให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเป้าหมาย ซึ่งจะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยในอนาคตอีกด้วย

                 อย่างไรก็ตามนอกจากการบริหารยาอย่างถูกต้อง ผู้ป่วยต้องมีวินัยในการดูแลตัวเองให้ดีเพื่อสามารถอยู่กับเบาหวานได้อย่างมีความสุขด้วย

 


 

                 Dr. Kirstine Brown Frandsen,Corporate vice president, Novo Nordisk A/S กล่าวว่าบริษัทโนโว นอร์ดิสค์ มีความมุ่งมั่นในการพัฒนายาใหม่ๆมาตลอดกว่า  90 ปี เพื่อพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น โดยมีการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมยาชีววัตถุใหม่ๆรวมถึงอุปกรณ์ในการฉีดยาอินซูลินเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยทั่วโลก ให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเป้าหมาย มีความสะดวกสบายในการบริหารยา และลดความเสี่ยงในการเกิดอาการข้างเคียงหรือชะลออาการแทรกซ้อนในอนาคต

                  การวิจัยทางคลินิกสำหรับการพัฒนายาใหม่เป็นสิ่งที่ยากและท้าทาย และมีความสำคัญในกระบวนการพัฒนายา เพื่อติดตามประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้ยา ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานานกว่า10 ปีในการพัฒนายาแต่ละชนิด แม้ว่าการพัฒนายาใหม่มีความก้าวหน้ามากขึ้น แต่การอนุมัติยาใหม่เพื่อให้ใช้กับผู้ป่วยจะต้องมีการทำการวิจัยเพื่อพิสูจน์ให้เห็นถึงความปลอดภัยในการใช้ยา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความปลอดภัยเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดและหัวใจ ซึ่งบริษัทโนโว นอร์ดิสค์ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยในปัจจุบันมีผลการศึกษาที่เพิ่งออกมาเมื่อเร็วๆนี้ ไม่ว่าจะเป็น DEVOTE study, LEADER study และ SUSTAIN ซึ่งยืนยันว่านอกจากได้ผลดีในการรักษาโรคเบาหวานเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลที่ดีแล้ว ยังมีความปลอดภัยต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ รวมถึงการทำงานของไตและลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ยาได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

 


 

                Mr.Frederik Kier, Senior Vice President, Region AAMEO, Novo Nordisk กล่าวว่าบริษัทโนโว นอร์ดิสค์ เรามีความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงโรคเบาหวาน และโรคเรื้อรังอันเป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดโรคเบาหวานในประเทศไทย โดยถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โดยพยายามพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยที่จะได้รับ ป้องกันและชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อน เพื่อทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

               บริษัทโนโว นอร์ดิสค์ ประเทศไทย ก่อตั้งและดำเนินงานมาแล้วกว่า 30 ปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเรานำยาเบาหวานเข้ามาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นยาอินซูลินชนิดดั้งเดิมอินซูลินอะนาล็อก (Modern Insulin) และอินซูลินชนิดใหม่ (New Generation Insulin)  และยากลุ่มใหม่ที่สังเคราะห์เลียนแบบ GLP-1 ( GLP-1analog) เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาได้อย่างทั่วถึง ตามสิทธิ์หลักประกันสุขภาพของประชาชนไทย

                 การดูแลผู้ป่วยเบาหวานในปัจจุบัน นอกเหนือจากการควบคุมระดับน้ำตาลให้ถึงเป้าหมายแล้วยังต้องคำนึงถึงความเสี่ยงในการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดและความปลอดภัยจากโรคแทรกซ้อนอื่นๆของผู้ป่วยด้วย สิ่งหนึ่งที่จะสามารถป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและโรคแทรกซ้อนได้คือความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย นอกจากอุปกรณ์ฉีดยาที่ง่ายต่อการใช้ยาที่มีประสิทธิภาพก็มีส่วนช่วยเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยได้ และสิ่งสำคัญที่สุดคือความมีวินัยของผู้ป่วยและความเอาใจใส่ในการให้กำลังใจและสนับสนุนจากครอบครัวและบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วย

 

 

 

More
แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เผย “รักษาที่ต้นเหตุ” หายอย่างยั่งยืน
‘RSV’ โรคที่ผู้ใหญ่ก็เป็นได้
ตาพร่ามัว...อย่าชะล่าใจ หมอตาเตือนคนวัยทำงานอายุ 30+ ระวังเบาหวานขึ้นจอตา ภัยเงียบที่คุกคามสายตาจากโรคเบาหวาน
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการผ่าตัดรักษาโรคอ้วน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ประสบความสำเร็จในการรักษาโรคอ้วนทุพพลภาพ สกัดโรคเรื้อรั...
รพ.สมเด็จพระยุพราชปัว จ.น่าน เปิดให้บริการศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้องเฉพาะทางและผ่าตัดส่องกล้องรักษาโรคอ้วน
Others
10 กลยุทธ์เด็ดเผด็จศึกความอ้วนสำหรับคนที่ชอบกินตามใจปาก
เคทีซีฉลอง 70 ปีแอลจี ชวนช้อปเครื่องใช้ไฟฟ้าแบ่งชำระ 0% นานสุด 24 เดือน พร้อมรับสิทธิ์ประโยชน์เครดิตเงินคืนรวมสูงสุด 10%...
ใบเฟิร์นรับบทเซลส์ขายรถที่บูธนิสสัน ใน Motor Expo 2023 โชว์สกิลขายนิสสัน คิกส์ อี-พาวเวอร์แบบฉบับคนใช้จริง
'Water War Chiang Mai 2024’ เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
“ทำงานทั้งวันก็ฟิตได้” “โค้ชแม้ด” ชวนสาวออฟฟิศพิชิตภารกิจ “ฟิตแอนด์เฟิร์ม”
Latest
อายิโนะโมะโต๊ะ ฉลองครบรอบ 65 ปี จัดใหญ่! “aminoVITAL Run 2025” ตามสโลแกน กินดี มีสุขภาพดี
LSOUL เผยภาพแคมเปญ 2 สาว Star Girl “น้ำตาล-ทิพนารี วีรวัฒโนดม” และ “ฟิล์ม-รชานันท์ มหาวรรณ์” ในชุดคอลเลกชั่นพิเศษเฉพาะปร...
POP MART THAILAND จัดงาน "SKULLPANDA EXCLUSIVE EVENT" เนรมิตอีเว้นท์คริสต์มาสรูปแบบใหม่ เผยคอลเล็กชันพิเศษ ดึงศิลปินออกแ...
จิมมี่ - ซี - ใบปอ ร่วมเปิด HEYDUDE POP-UP STORE แบรนด์รองเท้าสุดชิคครั้งแรกในไทย
GSK ผนึกกำลัง ‘ลำพูน’ เปิดตัว “สุขศาลา” ศูนย์สุขภาพชุมชนถนนรถแก้ว รณรงค์ตรวจสุขภาพ รับมือ PM 2.5 ยกระดับคุณภาพชีวิตของชา...

 

 

Top Hits
“พีพี กฤษฏ์” ขึ้นแท่นพรีเซนเตอร์นมพิสทาชิโอแบรนด์ ซันคิสท์ แบรนด์ระดับโลก พร้อมร่วม ครีเอทเมนูสุดพิเศษด้วยนมพิสทาชิโอที่...
มัดรวมภาพประทับใจจากงาน เนสกาแฟ โกลด์ เครมมา คอลแลปส์ แจ็คสัน หวัง เนรมิต “เดอะ ไฟน์เนส แมนชั่น”
Za DEEP HYDRATION ผิวเปล่งปลั่งอิ่มน้ำมีประกาย สวยตั้งแต่วินาทีนี้
ลดอาการปวดเมื่อยด้วย “ท่านอนที่ถูกวิธี”
“เก้า - สุภัสสรา” ชวนช้อปสนุกสุดฟิน กับบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน สิทธิพิเศษเหนือระดับ ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ ที่ศูนย์กา...
Bruce Jenner ตัดสินใจเป็นผู้หญิงในวัย 65 ปี
10 อันดับอาหารคอเลสเตอรอลสูง