คาด 2568 มะเร็งปอดขึ้นเป็นภัยร้ายอันดับหนึ่ง พบหญิงไทยไม่สูบบุหรี่ป่วยติดอันดับ 2 ของโลก

 

หน่วยงานภาครัฐ เล็งพิจารณา ‘ความคุ้มค่า’ เปิดทางผู้ป่วยเข้าถึงนวัตกรรมการรักษาและการคัดกรอง

 


 

 


 

      เตรียมรับมือภัยเงียบ มะเร็งปอด กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งของประเทศไทยในปี 2568 ด้วยตัวเลขที่น่าตกใจถึง 41 คนต่อวัน และผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยวันละ 57 ราย  พบมากไทยมีผู้หญิงที่ไม่สูบบุหรี่เป็นมะเร็งปอดสูงเป็นอันดับ 2 ของโลกสถานการณ์ที่น่ากังวลนี้ได้จุดประกายให้หน่วยงานภาครัฐ สมาคมแพทย์ และภาคีด้านสุขภาพ ต้องผนึกกำลังครั้งใหญ่ เพื่อพลิกโฉมวงการสาธารณสุขไทย ด้วยการเร่งผลักดันนโยบายเพิ่มการเข้าถึงนวัตกรรมการรักษาและการคัดกรองโรคให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น พร้อมทบทวนเกณฑ์ 'ความคุ้มค่า' เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยทุกคนเข้าถึงการรักษาที่ดีที่สุด

         เรืออากาศเอกนายแพทย์สมชาย ธนะสิทธิชัย ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เปิดเผยถึงสถานการณ์เร่งด่วนของโรคมะเร็งปอดในประเทศไทย บนเวทีเสวนาที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาส วันงดสูบบุหรี่โลก โดยอ้างอิงข้อมูลระหว่างปี 2562 – 2564 ซึ่งชี้ให้เห็นว่า มะเร็งปอด ยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ในผู้ป่วยมะเร็ง และคาดการณ์ว่าในปี 2568 นี้ จะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปอดสูงถึง 41 คนต่อวัน และมีผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยวันละ 57 รายสถานการณ์ดังกล่าวได้ผลักดันให้ภาครัฐ สมาคมแพทย์ และภาคีด้านสุขภาพ ต้องผนึกกำลังกันอย่างจริงจัง เพื่อเร่งผลักดันกลไกนโยบายในการเพิ่มการเข้าถึงนวัตกรรมการรักษาและการคัดกรองให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

 


เรืออากาศเอกนายแพทย์สมชาย ธนะสิทธิชัย

 

สถานการณ์มะเร็งปอด ความหนักหน่วงที่ต้องการการคัดกรองเชิงรุก

      ศ.ดร.นพ. ศรายุทธ ลูเซียน กีเตอร์ สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เผยข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบันว่า มะเร็งปอดพบมากเป็นอันดับ 1 ในผู้ชาย และอันดับ 4 ในผู้หญิง โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักตรวจพบโรคในระยะลุกลาม (ระยะที่ 4) ซึ่งทำให้โอกาสหายขาดลดลง และต้องเข้าสู่การรักษาแบบประคับประคอง ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของมะเร็งปอดยังคงเป็นการสูบบุหรี่ แต่ในปัจจุบันยังพบความเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่น เช่น มลพิษทางอากาศ (PM2.5) และพันธุกรรม โดยมีแนวโน้มพบผู้ป่วยในวัยที่น้อยลง และประเทศไทยยังมีผู้หญิงที่ไม่สูบบุหรี่เป็นมะเร็งปอดสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก

       ในบางประเทศมีแนวทางคัดกรองกลุ่มผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด แม้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับพันธุกรรม แต่เกิดจากการใช้ชีวิตในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน ซึ่งสะท้อนว่าแนวทางการคัดกรองจำเป็นต้องปรับให้สอดคล้องกับบริบทและข้อมูลเชิงพื้นที่

 


 

ยกระดับการรักษา นวัตกรรมการรักษาและการจัดการทรัพยากร

        ความก้าวหน้าในการรักษามะเร็งปอดในปัจจุบันมีความก้าวหน้าอย่างมาก ทั้งด้านการผ่าตัดผ่านกล้อง การฉายรังสีแบบแม่นยำ และการใช้ยามุ่งเป้า แต่การเข้าถึงนวัตกรรมเหล่านี้ยังคงมีข้อจำกัดในระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศไทย

        หน่วยงานภาครัฐกำลังอยู่ระหว่างการทบทวนเกณฑ์ความคุ้มค่า (Cost-Effectiveness Threshold) ที่ใช้พิจารณายาและนวัตกรรมสุขภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรคที่มีความรุนแรงสูง เช่น มะเร็งปอด

        การพิจารณาปรับเกณฑ์นี้มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยเข้าถึงนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยยังรักษาความสมดุลของงบประมาณระบบสุขภาพโดยรวม

       ในวงเสวนายังมีการเสนอแนวทางบริหารจัดการ เช่น การจัดซื้อรวม การตั้งงบประมาณเฉพาะด้าน เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงยานวัตกรรม ซึ่งจะช่วยให้โรงพยาบาลสามารถดำเนินการรักษาได้โดยไม่เพิ่มภาระทางการเงิน

 


นพ. จักรกริช โง้วศิริ

 

มุ่งสู่ระบบสุขภาพที่ครอบคลุมและยั่งยืน

         การส่งเสริมให้เกิด ‘Stage Shift’ หรือการตรวจพบโรคในระยะแรกเริ่ม แทนระยะลุกลาม จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาหาย ลดต้นทุนในระยะยาว และทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

        “สิ่งสำคัญที่สุดของการคัดกรองคือ ‘Stage Shift’ หรือการย้ายระยะของโรค” รศ.ดร.นพ. ศรายุทธ อธิบาย “หากการคัดกรองทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ถูกตรวจพบในระยะที่ 1 แทนที่จะเป็นระยะที่ 4 นั่นหมายความว่าเราสามารถเปลี่ยน ‘Mode of Death’ หรือวิธีการเสียชีวิตของผู้ป่วยจากมะเร็งปอดไปเป็นการเสียชีวิตตามวัยชราภาพได้ ถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่ควรเร่งดำเนินการ”

        นพ. จักรกริช โง้วศิริ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบุว่า โรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งปอด เป็นค่าใช้จ่ายสำคัญของระบบสุขภาพ ซึ่งต้องอาศัยการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิด ผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ชัดเจน เช่น อัตราการรอดชีวิตที่สูงขึ้น หรือภาวะแทรกซ้อนที่ลดลง ทั้งนี้ ภาครัฐไม่ได้เน้นเฉพาะการรักษาเมื่อป่วย แต่ยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการคัดกรองระยะเริ่มต้น ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในภาพรวมได้ในระยะยาว

        การแก้ปัญหามะเร็งปอดอย่างยั่งยืนจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการกำหนดแนวทางที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน ทั้งในด้านการเข้าถึงนวัตกรรม เทคโนโลยี และการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สุขภาพอย่างต่อเนื่อง

 


 

 

 

 

More
ไขข้อข้องใจ “โรคกระดูกสันหลัง” เกิดจากพันธุกรรม หรือพฤติกรรม?
นวัตกรรม “การผ่าตัดไร้รอยแผล” ทางเลือกใหม่ที่ตอบโจทย์ทั้งผลลัพธ์การรักษาและความงาม
GSK ร่วมรณรงค์ “สัปดาห์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโลก 2025” ชูการป้องกันโรคสำหรับทุกวัย
ฝุ่น PM 2.5 อันตรายที่มองไม่เห็นด้วยดวงตา ภัยร้ายทำลายเส้นผม
จุฬาฯ เปิดตัว “วีลแชร์เดินได้” Wheelchair Exoskeleton หุ่นยนต์สวมใส่บนร่างกายมนุษย์
Others
เริ่มแล้ว! “Makro HoReCa 2024” มหกรรมธุรกิจอาหารประเทศไทย ครั้งที่17
ยักษ์ประเทศไทย “เก่ง ธชย” รับทรัพย์ค่าตัว 7 หลัก “มิว-นิค รามายณะ”
FINDING CALICO หนังที่ทาสแมวต้องดู ไม่ใช่ทาสแมวยังต้องรัก!
สวารอฟสกี้ ร่วมต้อนรับนักษัตรปีจอ ด้วยคอลเลคชั่นสุดเจิดจรัส สำหรับเทศกาลตรุษจีนนี้
เตือนภัยสุขภาพของอิ๊วโซดาที่เผยแพร่ทางโซเชียลมีเดีย
Latest
ลงจอภาพยนตร์ไทย “พี เอกภพ” ถูกคว้าตัวลง THE AMULET GAME
คาด 2568 มะเร็งปอดขึ้นเป็นภัยร้ายอันดับหนึ่ง พบหญิงไทยไม่สูบบุหรี่ป่วยติดอันดับ 2 ของโลก
Lorde ปล่อย Virgin อัลบั้มใหม่ในรอบ 4 ปีที่ทุกคนรอคอย Lorde Summer คัมแบ็กสุดสตรองเตรียมครองทุกพื้นที่ในปี 2025 นี้
เผยภาพ “ไบร์ท วชิรวิชญ์” ร่วมชมแฟชั่นโชว์ของแบรนด์ AMI Paris คอลเลกชัน Spring-Summer 2026 ในงาน Paris Fashion Week
"อิงฟ้า วราหะ" จัดเต็มโชว์เวที "Bangkok Pride Party 2025 : Born This Way" ส่งท้าย Pride Month อลังการสมเป็นตัวแม่ LGBTQ...

 

 

Top Hits
“พีพี กฤษฏ์” ขึ้นแท่นพรีเซนเตอร์นมพิสทาชิโอแบรนด์ ซันคิสท์ แบรนด์ระดับโลก พร้อมร่วม ครีเอทเมนูสุดพิเศษด้วยนมพิสทาชิโอที่...
มัดรวมภาพประทับใจจากงาน เนสกาแฟ โกลด์ เครมมา คอลแลปส์ แจ็คสัน หวัง เนรมิต “เดอะ ไฟน์เนส แมนชั่น”
Za DEEP HYDRATION ผิวเปล่งปลั่งอิ่มน้ำมีประกาย สวยตั้งแต่วินาทีนี้
ลดอาการปวดเมื่อยด้วย “ท่านอนที่ถูกวิธี”
Bruce Jenner ตัดสินใจเป็นผู้หญิงในวัย 65 ปี
“เก้า - สุภัสสรา” ชวนช้อปสนุกสุดฟิน กับบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน สิทธิพิเศษเหนือระดับ ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ ที่ศูนย์กา...
10 อันดับอาหารคอเลสเตอรอลสูง