สทน. จัดงาน “ อาหารปลอดภัย ฉายรังสีปลอดโรค ” สร้างการรับรู้ถึงประโยชน์จากการฉายรังสีอาหาร

 

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. จัดมหกรรมอาหารปลอดภัย ภายใต้ชื่องาน “ Safe Food Good Life อาหารปลอดภัย ฉายรังสีปลอดโรค ”

         เพื่อช่วยยกระดับการรับรู้และเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาหารฉายรังสี ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ยังคงมีความรู้ความเข้าใจในข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงโดยงานนี้จะช่วยปรับเปลี่ยนทัศนคติใหม่และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชนทั่วไป รวมถึงเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจเกี่ยวกับธุรกิจอาหารฉายรังสีอีกด้วย

 


 

        รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า เทคโนโลยีการฉายรังสีในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2506โดยมีพัฒนาการเรื่อยมาจนกระทั่ง รัฐบาลไทยได้ให้ความเห็นชอบในการรับความช่วยเหลือจากประเทศแคนาดา จึงดำเนินการสร้างโรงงานฉายรังสีแบบเอนกประสงค์ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมอาหารฉายรังสีในประเทศไทย ปัจจุบันข้อมูลการฉายรังสียังถูกรับรู้ในวงแคบ ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบถึงข้อมูลอาหารฉายรังสี หรือหากรับรู้ก็จะเป็นการรับรู้แบบผิดๆ  ว่าอาหารฉายรังสีคืออาหารที่มีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค  หรือผู้ประกอบการที่มาใช้บริการฉายรังสีเอง ก็ไม่อยากบอกผู้บริโภคว่าผลิตภัณฑ์ของตนผ่านการฉายรังสี เพราะกังวลกับความเข้าใจผิดของผู้บริโภค  และอาจจะส่งผลกระทบต่อยอดขายสินค้า ทำให้อาหารฉายรังสีไม่เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับเท่าที่ควร อีกทั้งยังมีผู้ประกอบการอาหารอีกจำนวนมากยังไม่รู้จักและเข้าใจว่ากระบวนการฉายรังสีอาหารสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์ปลอดเชื้อได้ดังนั้นการฉายรังสีอาหารในผลิตภัณฑ์ที่คนไทยบริโภคจึงยังไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าที่ควร 

 


 

         “ สทน. มีเป้าหมายชัดเจนในการมุ่งสร้างความปลอดภัยให้แก่ผลิตภัณฑ์อาหาร และสร้างความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับทางวิทยาศาสตร์โดยมีภารกิจสำคัญด้านอาหารปลอดภัยที่ดำเนินการอยู่คือการให้บริการฉายรังสีเพื่อทำลายเชื้อโรคและยืดอายุผลิตภัณฑ์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ครอบคลุมทุกประเภทรังสีที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ได้กับอาหาร และการพัฒนาบริการด้านการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา

 


 

          การจัดงานในครั้งนี้ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการฉายรังสีอาหาร โดยต้องการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และยกระดับการรับรู้เรื่องการฉายรังสีในอาหาร ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งที่ทำให้อาหารปลอดภัยและยังช่วยในการถนอมอาหาร โดยนำอาหารไปรับรังสีจากต้นกำเนิดรังสี เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ยืดอายุการเก็บรักษา ชะลอการสุก ยับยั้งการงอกระหว่างการเก็บรักษา ทำลายและยับยั้งการแพร่พันธุ์ของแมลง หรืออื่น ๆ ในทางกฎหมายกำหนดว่า การฉายรังสีอาหาร ต้องมีปริมาณรังสีต่ำสุดที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการฉายรังสี และมีปริมาณรังสีสูงสุดอยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค มีคุณค่าทางโภชนาการ และยังมีรสชาดเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค 

 


 

          จากปัญหาโควิด-19 ที่ระบาดไปทั่วโลก ก็เกิดขึ้นเพราะการรับประทานอาหารที่ไม่ปลอดภัยของมนุษย์เรา ในสถานการณ์ที่กำลังเกิดโรคระบาดไปทั่วโลก การรับประทานอาหารที่ปลอดเชื้อ หรือปลอดภัยมากๆ เป็นเรื่องที่จำเป็น ไม่งั้นเราก็จะเจอกับโรคอุบัติใหม่แบบนี้ไม่มีที่สิ้นสุด อาหารฉายรังสีจึงเป็นตัวเลือกหนึ่งในการบริโภค ผู้บริโภคก็ควรต้องเลือกสิ่งที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับตัวเอง ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการธุรกิจอาหารก็ควรจะคำนึงถึงสุขภาพพลานามัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญด้วย ผมอยากให้มีการจำหน่ายอาหารฉายรังสีให้หลากหลายกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนชาวไทย” ผู้อำนวยการ สทน. กล่าว

 


 

         นอกจากนี้ภายในงานยังมีการออกร้านจำหน่ายอาหารปลอดภัย การจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมต่าง ๆเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านอาหารฉายรังสีให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ เช่น การเสวนาพูดคุยกับแขกรับเชิญในฐานะตัวแทนผู้บริโภค เกี่ยวกับประสบการณ์ด้านอาหารฉายรังสี และโชว์ทำอาหารง่ายๆ จากเชฟมืออาชีพชื่อดัง โดยเลือกใช้อาหารฉายรังสีเป็นวัตถุดิบ เป็นต้น

       สำหรับผู้สนใจที่พลาดการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ไป ยังสามารถมาร่วมงาน “Safe Food Good Life อาหารปลอดภัย ฉายรังสีปลอดโรค” ได้อีกครั้งในวันที่ 18-19 เมษายน 2563 ณ ห้างสรรพสินค้า โรบินสัน ศรีสมาน พร้อมนิทรรศการ ร้านค้า กิจกรรม และแขกรับเชิญที่จะมาร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับอาหารฉายรังสี

 


 

        ทั้งนี้ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ยังคงมุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยี และองค์ความรู้ด้านนิวเคลียร์ มาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่องต่อไป ผู้สนใจสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สทน. ได้ที่เว็บไซต์www.tint.or.th และเพจเฟซบุ๊คhttps://www.facebook.com/thai.nuclear

 

 

 

More
เปิดตัวแรงวันแรกในญี่ปุ่น ด้วยรายได้ 1,050 ล้านเยน “ยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน” โคนัน เดอะ มูฟวี่ ภาค 28 : ปริศนาภาพติดตามรณะ
“ก้อย อรัชพร” งานรัดตัวแต่บ้านและครัวต้องเป๊ะ เลือก Samsung Bespoke AI เป็นผู้ช่วยเบอร์หนึ่งในบ้าน
เชลล์ รีชาร์จ ฉลองครบ 100 หัวชาร์จทั่วไทย แจกฉ่ำรับซัมเมอร์ ฟรี!...เครื่องดื่มซิกเนเจอร์จากเชลล์ คาเฟ่
“ซี-นุนิว” นำทัพศิลปิน “โทมัส-ก้อง-แอลม่อน-โปรเกรส” เปิดตัวเสื้อผ้า แบรนด์ “Forty-Two42” สุดคึกคัก
นีโน่ - เจนนิเฟอร์ คิ้ม - ปาน ธนพร พิสูจน์ชัดข้ามทศวรรษ 16 ปี Trylagina "คนที่ดูดีกว่าคุณในวันนี้ คือคุณใน วันพรุ่งนี้...
Others
อร่อยกับอาหารสเปนจานเด็ด 7 วัน 7 เมนู ที่ห้องอาหารอูโนมาส
Passengers คู่โดยสารพันล้านไมล์
แมงกะพรุนกล่อง อันตราย! ระวังและป้องกัน
Detox เลือดขจัดโลหะหนัก คอร์สสุขภาพของคนใช้ชีวิตหนักๆ
ซูกัส-บัณฑวิช ตระกูลพานิชย์ โชว์หน้าใสสไตล์โอปป้า รับบท เจ๋ง ในซิทคอมเรื่อง “รักกัน มันแจ๋ว” ทางช่อง 7 HD
Latest
ทรูโฟร์ยู ช่อง 24 พร้อมเสิร์ฟความมันส์ระดับจักรวาล! ! “The Moon - ปฏิบัติการพิชิตจันทร์”
GSK ร่วมรณรงค์ “สัปดาห์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโลก 2025” ชูการป้องกันโรคสำหรับทุกวัย
เปิดแฟ้มคดีครั้งใหม่ “ยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน” โคนัน เดอะ มูฟวี่ ภาค 28 : ปริศนาภาพติดตามรณะ
เปิดตัวแรงวันแรกในญี่ปุ่น ด้วยรายได้ 1,050 ล้านเยน “ยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน” โคนัน เดอะ มูฟวี่ ภาค 28 : ปริศนาภาพติดตามรณะ
ร้อนแรงเกินต้าน! “เจ้านาย - เจ้าขุน” เปิดตัวสู่บ้านใหม่ “Sony Music Entertainment Thailand”

 

 

Top Hits
“พีพี กฤษฏ์” ขึ้นแท่นพรีเซนเตอร์นมพิสทาชิโอแบรนด์ ซันคิสท์ แบรนด์ระดับโลก พร้อมร่วม ครีเอทเมนูสุดพิเศษด้วยนมพิสทาชิโอที่...
มัดรวมภาพประทับใจจากงาน เนสกาแฟ โกลด์ เครมมา คอลแลปส์ แจ็คสัน หวัง เนรมิต “เดอะ ไฟน์เนส แมนชั่น”
Za DEEP HYDRATION ผิวเปล่งปลั่งอิ่มน้ำมีประกาย สวยตั้งแต่วินาทีนี้
ลดอาการปวดเมื่อยด้วย “ท่านอนที่ถูกวิธี”
Bruce Jenner ตัดสินใจเป็นผู้หญิงในวัย 65 ปี
“เก้า - สุภัสสรา” ชวนช้อปสนุกสุดฟิน กับบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน สิทธิพิเศษเหนือระดับ ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ ที่ศูนย์กา...
10 อันดับอาหารคอเลสเตอรอลสูง