อินไซด์การจัดงบ 155 ล้าน สร้างอากาศสะอาดจากกองทุน ววน. กลไกสู้วิกฤตมลพิษฝุ่นจิ๋ว และภารกิจคืนลมหายใจให้ชาวล้านนา - คนกรุงฯ

 

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ยังคงเป็นวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง จากผลการรายงานคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ของเมืองสำคัญทั่วโลก

 


 

           เพื่อจัดอันดับเมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุด และดีที่สุดในแต่ละวันตั้งแต่ปลายปี 2566 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 กรุงเทพมหานครถูกจัดอยู่อันดับที่ 7 ของเมืองใหญ่ที่มีมลพิษมากที่สุด วัดได้ 174 AQI US  ซึ่งเป็นระดับคุณภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อทุกคน ส่วนจังหวัดเชียงใหม่ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 20 วัดได้ 116 AQI US ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ป่วยหรือผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ และคาดว่าสถานการณ์ค่า PM2.5 จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แน่นอนว่าความรุนแรงของปัญหาฝุ่น PM 2.5 ส่งผลให้ผู้คนเกิดความวิตกและถามหาแนวทางแก้ไขที่ยั่งยืน ที่ไม่ใช่แค่เพียงการไล่แก้ปัญหาไปทีละจุด และเฝ้ารอให้ปัญหาฝุ่นจางหายแล้ววนกลับมาตามฤดูกาล

 


 

          ในปัจจุบันหลายภาคส่วนได้เร่งระดมแนวทางเพื่อหาทางออกปัญหาฝุ่น PM 2.5 อย่างยั่งยืน ที่น่าสนใจคือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) มีหน้าที่จัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กว่า 180 หน่วยงาน รวมทั้งจัดทำนโยบายและแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เพื่อกำหนดกรอบการทำงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ โดยแผนด้าน ววน. ปี 2566-2570 มี 4 ยุทธศาสตร์หลัก และประเด็นด้านมลพิษทางอากาศอยู่ในยุทธศาสตร์ที่ 2 ว่าด้วยการยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืนสามารถแก้ปัญหาท้าท้าย และปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดังนั้นในปี 2566-2567 สกสว. ได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 155 ล้านบาท เพื่อผลักดันการใช้งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาและตอบสนองต่อภาวะวิกฤติเร่งด่วนของประเทศเรื่องฝุ่น PM 2.5 พร้อมร่วมกันกำหนดผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญร่วมกันของทุกภาคเพื่อบรรเทาความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และลดฝุ่นจากแหล่งกำเนิดเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดในอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม  

 


 

จริงหรือที่เราจะหาทางออกเกี่ยวกับปัญหามลพิษทางอากาศ ฝุ่น PM2.5 นี้ไม่ได้ ?

        ฝุ่น PM2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดจิ๋วที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน และเป็น 1 ใน 8 ตัวชี้วัดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศของกรมควบคุมมลพิษ สำหรับสาเหตุของการเกิดฝุ่น PM2.5 มีหลายสาเหตุ แต่จากการศึกษาและงานวิจัยที่ผ่านมา สามารถจำแนกแหล่งกำเนิดสำคัญของการเกิดฝุ่น PM 2.5 และมลพิษทางอากาศอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคทางเดินหายใจ จากสาเหตุของการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ คือ การเผาในที่โล่งทั้งจากพื้นที่เกษตรและพื้นที่ป่า เครื่องยนต์ในภาคการคมนาคมขนส่ง  ภาคอุตสาหกรรม การก่อสร้าง และกิจกรรมในครัวเรือน รวมถึงฝุ่นที่ลอยข้ามแดนมาจากประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี นอกจากนี้ยังมีการเกิดฝุ่นจากแหล่งกำเนิดทุติยภูมิ คือ ฝุ่นขนาดเล็กที่เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีหรือการเปลี่ยนรูปในบรรยากาศของก๊าซบางประเภท เช่น ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ก๊าซแอมโมเนีย (NH3) ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของคน เช่น การใช้ปุ๋ยยูเรีย การเผาไหม้จากเครื่องยนต์ เป็นต้น

 


 

          แต่ที่น่ากังวล คือ ฝุ่นจิ๋วที่มีอานุภาพร้ายแรงต่อร่างกายไม่น้อยตามขนาด เพราะสามารถผ่านการกรองของขนจมูกไปสู่ปอดชั้นในได้ แล้วยังทำหน้าที่เป็นตัวกลางพาสารอื่นๆ ที่เป็นอันตรายเข้าสู่ปอดของเรา แล้วจะค่อยๆ ออกฤทธิ์ หลังเกิดการสะสมในจำนวนมากขึ้น จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า หากร่างกายได้รับปริมาณฝุ่นเกินค่ามาตรฐานจะมีความเสี่ยงในการเกิดอันตรายต่อสุขภาพ และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดสูงถึงร้อยละ 25 โรคติดเชื้อในทางเดินหายใจเฉียบพลันร้อยละ 17 การเกิดสโตรก (stroke) ร้อยละ 16 และโรคหัวใจขาดเลือด ร้อยละ 15

 


 

          สกสว. ในฐานะภาคีเครือข่ายคณะทำงานฯ จึงได้จัดสรรงบประมาณผ่านแผนงาน “งานวิจัยนวัตกรรมและการใช้ประโยชน์เพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วน ฝุ่นละออง PM 2.5 แบบมุ่งเป้าและบูรณาการ” จำนวน 155 ล้านบาท ให้กับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) เพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์งานวิจัยเร่งด่วนและนวัตกรรมพร้อมใช้เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ให้กับหน่วยงานวิจัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยมีเป้าหมายลดฝุ่นจากแหล่งกำเนิดในพื้นที่เป้าหมายวิกฤติที่มีค่าฝุ่นสูง คือ  จ.เชียงใหม่และกรุงเทพมหานครโดยได้สร้างการมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนวิจัยและการนำงานวิจัยพร้อมใช้ไปแก้ปัญหาฝุ่นอย่างเร่งด่วน ด้วยการร่วมกันคลี่ปัญหาตลอดห่วงโซ่ การรับโจทย์และความต้องการจากหน่วยงานภาคีกว่า 20 หน่วยงาน และการร่วมกันสร้างกรอบการแก้ปัญหาในทุกมิติ เพื่อบูรณาการการทำงานทั้งภาควิชาการ ภาครัฐ และภาคประชาสังคม สำหรับสร้างนวัตกรรมที่เป็นทางเลือกใหม่ของการแก้ปัญหาในพื้นที่

 


 

          โดยมีประเด็นสำคัญในการแก้ปัญหา 5 ประเด็น คือ การลดไฟในพื้นที่เกษตรและพื้นที่ป่า การลดฝุ่นจากภาคคมนาคม การลดฝุ่นควันข้ามแดน และการบูรณาการฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการคิดตามสถานการณ์และตัดสินแก้ปัญหาอย่างทันท่วงทีในทุกระดับตัวอย่างนวัตกรรมการจัดการไฟป่าอย่างมีประสิทธิภาพ คือการพัฒนากลไกการจ่ายค่าตอบแทนระบบนิเวศ เพื่อทำให้เกิดการร่วมทุนจากภาคเอกชนและภาคประชาชนสำหรับตอบแทนผลประโยชน์ให้กับชุมชนที่มีแผนการจัดการป่าร่วมกับภาครัฐและมีกิจกรรมด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูแบบมีส่วนร่วม เพื่อทำให้ชุมชนมีแรงจูงใจในการดูแลรักษาป่าและสามารถบริหารจัดการไฟป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การส่งเสริมอาชีพเพื่อลดการเผาป่า และการส่งเสริมเรื่องคาร์บอนเครดิตในพื้นที่ป่าชุมชน

 


 


        ส่วนการลดใช้ไฟเผาในพื้นที่เกษตรได้ทดลองขยายผล “การปรับเปลี่ยนเป็นวิถีเกษตรไม่เผา” ด้วยการเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ซึ่งมักใช้วิธีเผาเพื่อเคลียร์แปลงปลูกและเผาตอซังหลังเก็บเกี่ยว มาเป็นการปลูกผลไม้ ไผ่และผักที่มีมูลค่าสูง ซึ่งสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการสำเร็จในหลายพื้นที่นอกจากนี้ยังมีการต่อยอดด้านการตลาดสำหรับสินค้าเกษตรที่ไม่เผาด้วยระบบติดตามย้อนกลับเพื่อตรวจสอบแหล่งเพาะปลูกรายแปลงด้วยระบบดาวเทียม และกรมวิชาการเกษตรได้พัฒนามาตรฐาน GAP PM 2.5 Free เพื่อรับรองผลิตผลจากวิธีการปลูกที่ไม่ใช่ไฟ  ตลอดจนการจัดการเศษวัสดุเกษตรให้นำไปใช้เป็นชีวมวลสำหรับโรงผลิตไฟฟ้าอย่างครบวงจร โดยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการลดฝุ่นในภาคเกษตร ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี (best practice) จะถูกถ่ายทอดเพื่อขยายผลด้านการผลิตและด้านการเกษตรยั่งยืนภายในประเทศลาวและเมียนมาร์ สำหรับปริมาณฝุ่นควันข้ามแดน

 


 

           นอกจากนี้ได้มีการศึกษาแนวทางการลดฝุ่นจากระบบคมนาคมขนส่ง โดยทดลองใช้เครื่องตรวจควันดำระยะไกลจากกล้องจราจร และพัฒนาระบบติดตามและคัดกรองรถยนต์กลุ่มเป้าหมาย เพื่อทำให้ปริมาณรถที่ปล่อยควันดำในพื้นที่วิกฤติหรือพื้นที่เปราะบางของกรุงเทพมหานครลดลง ส่วนประเด็นที่สำคัญที่สุด คือการบูรณาการระบบข้อมูลสารสนเทศที่กระจัดกระจายอยู่ในหน่วยงานต่างๆ ให้เกิดเป็นฐาน Big Data ที่ครอบคลุมข้อมูลทุกมิติ เช่น ข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยา การใช้ประโยชน์ที่ดิน การขออนุญาตเผาจากชุมชน ค่าฝุ่น จุดเกิดไฟ พื้นที่ที่เกิดไฟไหม้ ฯลฯ สำหรับใช้วางแผนรับมือและตัดสินใจแก้ปัญหา PM 2.5 อย่างทันท่วงที สำหรับผู้กำหนดนโยบายและผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับชุมชนพื้นที่ โดยทำให้สามารถเห็นข้อมูลที่ถูกต้อง ติดตามสถานการณ์ มีเครื่องมือวิเคราะห์เขตประสบมลพิษทางอากาศ คาดการณ์การเผชิญเหตุ ออกแบบระบบการป้องกันตลอดจนวิธีการเยียวยาผลกระทบด้วยเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์

 


 

          สำหรับความคืบหน้าของภาครัฐและภาคประชาสังคมที่ร่วมกันขับเคลื่อนในเชิงกฎหมายและนโยบายที่สำคัญ คือ  ร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. ....  ที่ทางสภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... จากการยกร่างของรัฐบาล และอีก 6 ฉบับจากพรรคการเมืองและภาคประชาสังคม เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ของประเทศ  โดยสาระสำคัญของเนื้อหาในร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ.... เป็นการกำหนดกลไกในการบริหารจัดการและควบคุมกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาศในทุกมิติ โดยให้มีคณะกรรมการทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนเชิงนโยบายและเชิงวิชาการ และการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ กำหนดมาตรการควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดที่ครอบคลุมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษทุกรูปแบบทั้งโรงงานอุตสาหกรรม สถานประกอบการ เกษตรกรรม การคมนาคมและขนส่ง การเผาในที่โล่ง การเผาป่า การเผาในพื้นที่เกษตรกรรม การก่อสร้าง หมอกควันข้ามแดน รวมถึงมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศเชิงพื้นที่และการใช้เครื่องมือหรือมาตรการทางเศรษฐศาสตร์แเพื่อเป็นกลไกสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ รวมถึงประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมรับผิดชอบ และมีบทบาทหน้าที่ในการควบคุม ปรับลด และแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศร่วมกัน

 


 

         แม้ประเทศไทยต้องเผชิญปัญหามลพิษจากฝุ่น PM 2.5 มาอย่างต่อเนื่อง จนเชื่อได้ว่าหลายคนกำลังเฝ้ารอการกลับมาของอากาศบริสุทธิ์  ดังนั้นนักวิจัยและภาคีเครือข่ายพร้อมร่วมกันทำงานแบบบูรณาการ โดยการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน ววน. เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาให้สำเร็จ แต่อย่างไรก็ดี การวิจัยอย่างเดียวคงไม่พอ อาจต้องมีความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ เข้ามาช่วยกัน โดยเฉพาะการสร้างความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและได้รับผลกระทบไม่ทางใดก็ทางหนึ่งจากปัญหาที่เกิดขึ้น  ให้สามารถยอมรับและได้รับการชดเชยแบบ win -win เพื่อไปสู่การ win ร่วมกันของประเทศและภูมิภาคที่จะมีอากาศสะอาด คุณภาพชีวิตที่ดี ควบคู่กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

 

 

 

More
พานาโซนิค เปิดตัวไดร์เป่าผมใหม่ “นาโนแคร์ EH-NA0J” ไดร์เป่าผมรุ่นท็อปตัวดัง ที่มาพร้อมพลังนาโนอี มอยสเจอร์พลัส ผมชุ่มช...
Coach เปิดตัว The Coach Tabby Shop ลาน PARC PARAGON ต่อยอดกระเป๋ารุ่น Tabby Bag สู่การสร้างประสบการณ์ใหม่ที่เหนือความคาด...
ร่วมแสดงความยินดี ให้แก่อธิบดีกรมยุโรป ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์
แพลทินัม เชิญช้อปชิมผลไม้ไทยสดฉ่ำในงาน “Amazing Thai Fruit Freshtival”
ฟันโอ-ทิวลี่ คว้ารางวัล “2023 Top Influential Brands Award” สุดยอดแบรนด์ที่ทรงอิทธิพลต่อผู้บริโภคมากที่สุด
Others
ลาซาด้า จัดเต็มขนทัพดาราเคาท์ดาวน์มหกรรมออนไลน์ช้อปปิ้ง11.11 ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปีนี้ ‘ช้อปทะลุจักรวาล’ ที่ ออนไลน์ เฟ...
คู่หูความงาม ของผิวแพ้ง่าย โดย Avène เวชสำอาง เพื่อดูแลผิวในกลุ่ม Hypersensitive Skin
Me Before You โรแมนติคจนต่อมน้ำตาแตก
เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วกับ A`MAZE (เอ-เมส) มัลติแบรนด์สโตร์รูปแบบใหม่
ซีนิธ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ประกาศโปรเจกต์ ‘Zenith Rookies 2020’ เฟ้นหาเหล่าผู้มีฝันเพื่อเป็นศิลปินในสังกัด
Latest
ยูนิโคล่ และ JW ANDERSON นำเสนอคอลเลคชันใหม่ ประจำฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูร้อน 2024 ผ่านการตีความอันร่วมสมัยของผลงานหัตถศิลป์สไตล...
พานาโซนิค เปิดตัวไดร์เป่าผมใหม่ “นาโนแคร์ EH-NA0J” ไดร์เป่าผมรุ่นท็อปตัวดัง ที่มาพร้อมพลังนาโนอี มอยสเจอร์พลัส ผมชุ่มช...
Coach เปิดตัว The Coach Tabby Shop ลาน PARC PARAGON ต่อยอดกระเป๋ารุ่น Tabby Bag สู่การสร้างประสบการณ์ใหม่ที่เหนือความคาด...
ร่วมแสดงความยินดี ให้แก่อธิบดีกรมยุโรป ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์
ฟื้นฟูผิวกระจ่างใส ผ่อนคลายกายและใจในสไตล์โมรอคโค กับสปาทรีทเมนท์ฮัมมัม ณ สปาเซ็นวารี โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิล...

 

 

Top Hits
Za DEEP HYDRATION ผิวเปล่งปลั่งอิ่มน้ำมีประกาย สวยตั้งแต่วินาทีนี้
ลดอาการปวดเมื่อยด้วย “ท่านอนที่ถูกวิธี”
Bruce Jenner ตัดสินใจเป็นผู้หญิงในวัย 65 ปี
10 อันดับอาหารคอเลสเตอรอลสูง
“พีพี กฤษฏ์” ขึ้นแท่นพรีเซนเตอร์นมพิสทาชิโอแบรนด์ ซันคิสท์ แบรนด์ระดับโลก พร้อมร่วม ครีเอทเมนูสุดพิเศษด้วยนมพิสทาชิโอที่...
มัดรวมภาพประทับใจจากงาน เนสกาแฟ โกลด์ เครมมา คอลแลปส์ แจ็คสัน หวัง เนรมิต “เดอะ ไฟน์เนส แมนชั่น”
เธอคือใคร? Hailey Baldwin สาวที่ Justin คิสในไอจี