เปิดเบื้องหลังการประกวด Thai Specialty Coffee Awards 2024 กับความท้าทายในการตัดสินของคณะกรรมการ และการปรับตัวของเกษตรกร
category: Lifestyle
tag: thailandcoffeefest สมาคมกาแฟพิเศษไทย (SCATH)
นางสาวณัฏฐ์รดา คุณะวิวัฒนานนท์ นายกสมาคมกาแฟพิเศษไทย เปิดเผยว่า จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งสมาคมกาแฟพิเศษไทย เกิดขึ้นราว 15 ปีก่อน จากกลุ่มคนในอุตสาหกรรมกาแฟที่มีเป้าหมายเดียวกัน
คุณณัฏฐ์รดา คุณะวิวัฒนานนท์ นายกสมาคมกาแฟพิเศษไทย
คือ ต้องการสร้างตัวตนของเมล็ดกาแฟพิเศษไทยให้ชัดเจนในสายตานานาชาติ เพราะในขณะนั้นกาแฟพิเศษยังไม่ได้มีตัวตนที่จับต้องได้มากนัก ยังเป็นกาแฟสดทั่วไปที่ไม่มีอัตลักษณ์ ความโดดเด่นในตัวเอง การตั้งสมาคมกาแฟพิเศษไทยในปี2015 จึงมีเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อพัฒนาศักยภาพกาแฟไทย ให้สามารถเติบโตอย่างยั่งยืน จึงปรับรูปแบบการประกวด Thai Quality Coffee เป็นการประกวด Thai Specialty Coffee Awards โดยอ้างอิงและประยุกต์รูปแบบการตัดสินจากเวทีในต่างประเทศเป็นเกณฑ์การตัดสิน แต่เพิ่มการคัดเลือกผู้ชนะจาก 1 โปรเซส เป็น 3 โปรเซส เพราะมองว่ากาแฟไทยมีความหลากหลายทางด้านโปรเซสมากกว่าที่จะยึดเพียงโปรเซสใดโปรเซสหนึ่งในการตัดสิน ซึ่งอาจเกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นได้
ซึ่งการตัดสินของคณะกรรมการในแต่ละขั้นตอนจะแยกกลุ่มกันชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดความโน้มเอียงในการตัดสิน โดยแต่ละขั้นตอนจะยึดการให้คะแนนโดยอิงกลุ่มเป็นหลัก และใช้คณะกรรมการชุดเดิมในการตัดสินโปรเซสเดิม เพื่อให้คะแนนที่ออกมาเป็นกลางมากที่สุด หากคะแนนที่สูงหรือต่ำเกินจากคะแนนอิงกลุ่ม แม้ผู้ให้คะแนนจะเป็น Head Judge ก็ตาม เพราะมองว่าไม่ใช่คะแนนที่เห็นตรงกัน อาทิ คะแนนของคนส่วนใหญ่อยู่ที่ 85 คะแนน บวกลบไม่เกิน 2 คะแนน แล้วมีกรรมการท่านหนึ่งให้ 91 คะแนนเพราะความชอบส่วนตัว ซึ่งหากรวมคะแนนทั้งหมดโดยไม่อิงกลุ่มจะทำให้คะแนนสูงขึ้นจาก 85 คะแนนเป็น 87 คะแนนได้ ซึ่งไม่ใช่คะแนนเสียงของคนส่วนใหญ่ ดังนั้น เพื่อความเป็นประชาธิปไตย จึงต้องตัดคะแนนต่ำสุดและสูงสุดออก เพื่อให้คะแนนอยู่ในค่าเฉลี่ยเดียวกันและตัวกาแฟได้รับความเป็นธรรมมากที่สุด ซึ่งรูปแบบการตัดสินในปัจจุบันนั้นถือว่ามีความละเอียด ครบถ้วน และสามารถส่งต่อความคิดเห็นหรือแนวทางการพัฒนากาแฟคะแนนที่เกษตรกรได้รับ เพื่อให้นำกลับไปพัฒนาทั้งด้านการเพาะปลูกและแปรรูปของตนเองได้ ซึ่งความคิดเห็นของคณะกรรมการก็เป็นอีกผลลัพธ์สำคัญ ที่เกษตรกรรอคอยทุกปี ไม่แพ้ผลการตัดสินผู้ชนะในแต่ละโปรเซส
คุณวิทยา ไพศาลศักดิ์ คณะกรรมการสมาคมกาแฟพิเศษ
ด้านนายวิทยา ไพศาลศักดิ์ คณะกรรมการสมาคมกาแฟพิเศษ หนึ่งในทีม Green Grading กล่าวเสริมว่า สำหรับการให้คะแนนกับสารกาแฟที่ส่งเข้าประกวดจะตรวจสอบอย่างละเอียดทุกขั้นตอน ตั้งแต่กายภาพของเมล็ดกาแฟที่ส่งเข้ามาว่าเป็นอย่างไร มีค่าความชื้นหรือสิ่งไม่พึงประสงค์หรือไม่ ซึ่งการตรวจสอบในขั้นตอนแรกแสดงให้เห็นว่า เกษตรกรไทยเก่งขึ้นทุกปี โดยในปีนี้มีตัวอย่างส่งเข้าประกวด 512 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์ด่านแรก 472 ตัวอย่าง คิดเป็น 86% ของจำนวนที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด โดยมีสัดส่วนที่ไม่ผ่านเกณฑ์เพียง 14% เป็นที่น่ายินดีว่าสัดส่วนนี้ลดลงทุกปี เพราะเกษตรกรมีความเข้าใจ และเอาใจใส่เรื่องการทำกาแฟมากขึ้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ตามมาคือผู้บริโภคทั้งหลายจะได้ดื่มกาแฟที่ดีจากเกษตรกร คุณชาติชาย แซ่ท้าว ตัวแทนเกษตรกร
ด้านนายชาติชาย แซ่ท้าว ตัวแทนเกษตรกร ผู้ชนะการประกวดสุดยอดเมล็ดกาแฟพิเศษไทย ประจำปี 2567 (Honey Process) จากแหล่งปลูกหมู่บ้านมณีพฤกษ์ ต.งอบ อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการเข้าสู่วงการกาแฟพิเศษไทยเกิดขึ้นเมื่อราว 15 ปีก่อน ที่ครอบครัวเปลี่ยนจากการทำไร่เลื่อนลอยมาปลูกกาแฟซึ่งได้รับสายพันธุ์มาจากโครงการหลวง ซึ่งจากการศึกษาสายพันธุ์ต่างๆที่ได้รับมา ก็พบว่าลักษณะทางกายภาพของแต่ละสายพันธ์ อาทิ ลำต้น กลิ่น ยอด ผลเชอร์รี่แตกต่างกันอย่างชัดเจน และมีเพียงบางสายพันธุ์เท่านั้นที่เมื่อปลูกจะได้รสชาติที่ดีแตกต่างจากพันธุ์อื่นๆ ทำให้สนใจและศึกษามาอย่างต่อเนื่อง และเริ่มเข้าวงการอย่างจริงจังเมื่อราว 8 ปีที่แล้ว และเริ่มส่งเมล็ดกาแฟเข้าประกวดครั้งแรกในปี 2019 ได้รับรางวัลลำดับที่ 6 หลังจากแอบซุ่มศึกษามานานหลายปี ผู้ชนะทั้ง 3 Process
สำหรับการประกวดสุดยอดเมล็ดกาแฟพิเศษไทย ประจำปี 2567 ในครั้งนี้ ได้รับ 2 รางวัลที่ภาคภูมิใจ คือ เป็นผู้ชนะของ Honey Process มีคะแนน Cupping Score อยู่ที่ 91.06 คะแนน และได้รับรางวัลลำดับที่ 3 Washed Process มีคะแนน Cupping Score อยู่ที่ 87.40 คะแนน ซึ่งรางวัลที่ได้รับเป็นเสมือนสิ่งตอบแทนความตั้งใจของเกษตรกร ที่ดูแลเอาใจใส่ตั้งแต่การเพาะปลูก เก็บเกี่ยว จนถึงการโปรเซส เพราะยิ่งเราทำดีมากเท่าไหร่ สิ่งที่เราจะได้รับกลับคืนก็มากขึ้นเท่านั้น ถ้าคนต้นน้ำทำของที่ดี ปลูกดีด้วยความตั้งใจ ก็ส่งต่อสิ่งที่ดีไปยังคนกลางน้ำที่เป็นโรสเตอร์ บาริสต้า และคนปลายน้ำที่เป็นผู้บริโภคได้ ซึ่งผลลัพธ์ที่กลับมาก็คือ การซื้อเมล็ดกาแฟมากขึ้นจากกิโลกรัมก็เป็นตัน และวงจรนี้ยังช่วยสิ่งแวดล้อมได้อีก เพราะกาแฟที่ดีนั้นเกิดจากป่าที่ดี ทุกอย่างเชื่อมโยงเกื้อหนุนกันไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ
สำหรับผู้ที่สนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนเกษตรกรไทย ที่ปลูกเมล็ดกาแฟพิเศษไทยคุณภาพดีจากแหล่งปลูกต่างๆ สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ เฟสบุ๊ค สมาคมกาแฟพิเศษไทย (SCATH) https://www.facebook.com/sca.thailand หรือติดตามงาน Thailand Coffee Fest 2024 Year End เทศกาลกาแฟส่งท้ายปลายปีที่เชื่อมโยงธรรมชาติ-กาแฟ-ผู้คน เข้าด้วยกัน และมีของขวัญสุดพิเศษให้เลือกช้อปมากมาย ระหว่างวันที่ 12 – 15ธันวาคมนี้ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ฮอลล์ 5-6 ชั้นLG หรือติดตามรายละเอียดได้ที่ เฟสบุ๊ก Thailand Coffee Fest คลิก https://www.facebook.com/ThailandCoffeeFestหรือเว็บไซต์ www.thailandcoffeefest.org
|